วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 14 (27/09/54)

*สรุปเนื้อหาดังนี้*
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากติดธุระไปต่างจังหวัดจึงได้ศึกษาการเรียนการสอนในครั้งนี้จากเพื่อนและได้สรุปมาดังนี้ วันนี้อาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย คือ
-ความหมาย
-ความสำคัญ
-หลักการจัด
-วิธีการเรียนรู้
-พัฒนาการ
-สาระสำคัญ
-ประโยชน์
-การเขียนแผน
-การเขียนโครงการ
-การบูรณาการ
-การใช้คำถาม
-วิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทย์
-กิจกรรมวิทย์ กระบวนการ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
-ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต การจำแนก
จากนั้นอาจารย์ได้นัดสอบวันอังคารหน้า เวลา 09.00น.

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 13 (20/09/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้รู้สึกว่าเพื่อนๆดูเหนื่อยๆไม่ค่อยสดชื่นเท่าไร วันนี้อาจารย์ให้ส่งแผนที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้นอาจารย์ก็ตรวจดูแผนการสอนแล้วให้คำแนะนำในการเขียนแผนที่ถูกต้องและยกตัวอย่างให้ฟังไปพร้อมๆกัน อาจารย์ได้บอกว่าการเขียนแผนในขั้นสอนควรจะนำเพลงหรือคำคล้องจองมาใช้จะดีกว่าการพูดคุยสนทนากัน จากนั้นก็มีเพื่อนเป็นลมในห้องเรียน จึงทำให้อาจารย์หยุดทำการเรียนการสอนทันที

บันทึกครั้งที่ 12 (13/09/54)

*สรุปเนื้อหาดังนี้*
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้สบายๆไม่ร้อนมากเกินไป วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเนื้อหาหลักสูตรของเด็กปฐมวัยดังนี้
-เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น รู้จัก ชื่อ-นามสกุล รูปร่าง หน้าตา
-เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ เช่น รู้จัก ครอบครัว ญาติ ชุมชน
-ธรรมชาติรอบตัว เช่น สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต
-สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น รู้จักสี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก
บูรณาการทักษะวิทยาศาสตร์กับสาระ
-ศิลปะสร้างสรรค์
-เกมการศึกษา
-การเล่นเสรี
-การเคลื่อนไหวและจังหวะ
-กิจกรรมการแจ้ง
-เสริมประสบการณ์
*กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การเขียนแผน
-วันจันทร์ ลักษณะ รูปร่าง
-วันอังคาร แหล่งที่มา
-วันพุธ ประโยชน์
-วันพฤหัสบดี โทษ
-วันศุกร์ การดูแลรักษา
พัฒนาการเปลี่ยนเป็นสมรรถณะ
-กาย คือ เรื่องการเล่นเครื่องเล่นสานม
-อารมณ์-จิตใจ คือ ดนตรี เพลง
-สังคม คือ การช่วยเหลือตัวเอง
-สติปัญญา ได้แก่ ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์ ได้แก่ การทดลอง การสำรวจ การสังเกตุ
งานที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้
-อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาเขียนแผนการเรียนการสอนกลุ่มละ 1 หน่วย

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 11 (06/09/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคนวันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไปเยี่ยมพี่สาวที่โรงพยาบาลดิฉันจึงได้ศึกษาการเรียนการสอนในวันนี้จากเพื่อนจึงสรุปได้ดังนี้ บรรยากาศวันนี้รู้สึกเครียดๆเนื่องจากอาจารย์ให้ส่งงานที่ได้สั่งไปในคาบที่แล้ว คือคิดหน่วยการสอนและกิจกรรมที่จะจัดในแต่ล่ะวันให้เด็ก แต่การส่งงานในครั้งนี้ไม่ค่อยราบรื่นนัก เพราะอาจจะด้วยการที่ไม่เข้าใจคำสั่งจึงทำให้แต่ล่ะกลุ่มทำมาไม่เหมือนกัน โดยคำสั่งที่แท้จริงคือทำมาในรูปแบบของMy Mapping อาจารย์จึงให้กลุ่มที่ไม่มีMy Mapping ทำมาส่งในคาบหน้าและให้คำแนะนำว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรที่เด็กจะได้ทั้งทักษะและความรู้ในกิจกรรมเดียวกัน จากนั้นอาจารย์ได้เปิดวีดิโอ เรื่องความลับของแสงให้ดู ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกับความหมายและคุณสมบัติของแสงว่า แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่ได้เร็วมาก แสงจะมีการเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียวไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง เราสามารถนำมาใช้ทำเป็นกล้องฉายภาพ ชนิดของวัตถุมี3ชนิดคือ วัตถุโปร่งแสง วัตถุโปร่งใส และวัตถุทึบแสง วัตถุที่แสงทะลุผ่านได้คือวัตถุโปร่งแสงและวัตถุโปร่งใส ส่วนวัตถุทึบแสงๆไม่สามรถทะลุผ่านได้ การสะท้อนของแสง เช่นใช้กระจกเงาสะท้อนภาพของตุ๊กตาถ้าเพิ่มกระจกหนึ่งบานจะทำให้เงาของตุ๊กตาเพิ่มหนึ่งตัว หลักของการสะท้อนแสงสามารถมองเห็นวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หลักการหักเหของแสง แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกันทำให้แสงเกิดการหักเห แสงสีขาวที่เราเห็นประกอบไปด้วยสีต่าง7สีคือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง เมื่อแสงส่องผ่านละอองน้ำในอากาศทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ เงาเป็นสิ่งที่คู่กับแแสงถ้าเราส่องไฟไปที่วัตถุจะทำให้เกิดเงาตรงข้ามกับวัตถุถ้าฉายแสงไปหลายทางก็จะเกิดเงาหลายๆด้าน เช่น การเล่นหุ่นเงา

บันทึกครั้งที่ 10 (30/08/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้อาจารย์ให้นำของเล่นที่ได้ไปแก้หรือปรับปรุงมาส่ง พร้อมกับนำบอร์ดรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ สิ่งเสพติดของแต่ล่ะกลุ่มมาส่งด้วย จากนั้นอาจารย์ได้บอกเหตุที่ได้ให้ทำของเล่นจากขวดว่า ขวดเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว เป็นของเหลือใช้ สามารถหาได้ง่าย จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มๆละ5คน เพื่อไปคิดหน่วยในการสอน และคิดกิจกรรมที่จะสอนเด็กมาในแต่ล่ะวันโดยให้มีชื่อของผู้รับผิดชอบในแต่ล่ะวันด้วยแล้วนำมาส่งในคาบถัดไป จากนั้นอาจารย์ให้ไปลิงค์โทรทัศน์ครูและดูมา1เรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แล้วสรุปเนื้อหาที่ได้ลงบล็อก
บอร์ดรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ สิ่งเสพติด

สรุปเนื้อหาจากการดูโทรทัศน์ครูเรื่องการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ดร.นฤมล เนียมหอม ดังนี้


นิทานมีผลต่อเด็กมาก คุณครูก็คิดว่าถ้าเราสามารถจัดกิจกรรมที่มันส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้สอดคล้องกับนิทานที่เด็กชอบได้มันจะเป็นการพัฒนาที่เด็กมีความสุขมาก วิธีเลือกนิทานก็ดูว่าเด็กๆชอบนิทานเรื่องไหนเป็นพิเศษเราก็นำมาจัดกิจกรรม เวลาครูออกแบบเด็กได้บูรณาการไหม เด็กได้ลงมือปฏิบัติไหม ถ้าเราทำได้ก็จะทำให้รู้สึกประสบความสำเร็จ คุณครูจะประยุกต์สร้างสรรค์กิจกรรมมาจากเรื่องราวในนิทาน โดยการดำเนินกิจกรรมจากการบูรณาการสอดแทรกกิจกรรมหลักประจำวันในห้องเรียน เช่น การประยุกต์กิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยละครสร้างสรรค์ กิจกรรมละครสร้างสรรค์ที่ดีทำให้เด็กได้เรียนรู้องค์ประกอบ เช่น ตัวละคร ฉาก/สถานที่ ลำดับเหตุการณ์ เป็นต้น บทบาทของครูคือ การสนับสนุนให้กำลังใจ พยายามใส่ใจทุกคนในห้องให้มีส่วนร่วมมากที่สุด การประยุกต์กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะด้วยเพลงและนทานเด็กๆทุกคนจะเล่นเครื่องดนตรีและร้องเพลงตามเนื้อเรื่อง จุดหมายให้มีความสุขกับเสียงดนตรี มีปฏิกิริยาโต้ตอบ กิจกรรมนิทานเหมาะกับพัฒนาการเด็กมาก เด็กๆจะภาคภูมิใจในชิ้นงานที่แสดงออกมา ปัจจุบันมีการจัดประสบการณืโดยใช้วรรณกรรมเป็นรากฐาน ต่างจากรูปแบบเดิมๆที่บางทีอาจไม่ไดคิว่าเด็ฏจะทำอะไรเป็นการท้าทายให้ครูและเด็กทำกิจกรรมร่วมกัน

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 9 (23/08/54)

*สรุปเนื้อหาดังนี้*
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้สดใสเย็นสบาย วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับหลักการจัดกิจกรรมและการเขียนโครงการ ซึ่งโครงการจะมี3ระยะดังนี้
ระยะที่1 เด็กอยากรู้เรื่องอะไร
ระยะที2 ศึกษาลุ่มลึก
ระยะที่3 นำเสนอ
และอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างให้ดูคือการเขียนโครงการเรื่องนาฬิกาและเรื่องกระเป๋าเพื่อให้รู้และเข้าใจหลักการเขียนโครงการ จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้แบ่งกลุ่มๆละ6คนเพื่อไปช่วยกันเขียนโครงการมาหนึ่งเรื่องแล้วนำมาส่งในสัปดาห์หน้า วันนี้อาจารย์ก็ได้ตรวจของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำจากขวดน้ำที่สั่งให้ไปทำมาและให้คำแนะนำเพื่อไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น จากนั้นอาจารย์ก็ได้ตรวจบอร์ดเกี่ยวกับโครงการลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติด ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้จัดบอร์ดรณรงค์เรื่องของบุหรี่
ของเล่นวิทยาสาสตร์ที่อาจารย์สั่งเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 8 (16/08/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นสัปดาห์ของการสอบจึงได้ไม่มีการเรียนการสอน และวันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบายดิฉันจึงได้สรุปการเรียนการสอนมาจากเพื่อนดังนี้
บรรยากาศเย็นสบายดีค่ะ วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอเกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาตร์ในคาบที่แล้วที่ได้ให้ไปแก้ไขปรับปรุงมาส่งพร้อมอธิบายคุณสมบัติและประโยชน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ได้จากของเล่นชิ้นนั้นด้วย จากนั้นอาจารย์ได้ให้ดูวิดีโอเรื่อง มหรรศจรรย์ของน้ำ ทำให้ดิฉันได้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติของน้ำ ประโยชน์ของน้ำ เป็นต้น และขณะดูวิดีโอก็ได้มีการสนทนาซักถามเกี่ยวกับเรื่องน้ำไปด้วย เมื่อดูวิดิโอจบอาจารย์ก็ได้พูดคุยเกี่ยวกับการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำด้วยขวด โดยยกตัวอย่างของเพื่อนที่ทำมาส่ง จากนั้ก็ได้ร่วมกันคิดว่ามีของเล่นวิทยาศาสตร์อะไรบ้างที่สามารถทำได้จากขวดน้ำ เมื่อได้ครบแล้วอาจารย์ก็ได้แบ่งหน้าที่ให้แต่ล่ะคนไปทำของเล่นวิทยาศาสตร์มาส่งในคาบหน้าคนล่ะ1ชิ้น จากนั้นอาจารย์ก็ได้สั่งให้ไปทำบอร์ดเกี่ยวกับการรณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ เหล้าและสิ่งเสพติด มาส่งในคาบหน้าด้วย

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 7 (02/08/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้บรรยากาศดีค่ะเย็นสบายและสดชื่น วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอเกี่ยวกับของเล่นวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์มอบหมายให้ในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า "นักดำน้ำ" โดยมีวัสดุ/อุปกรณ์ ขั้นตอนการทำและผลการทดลองดังนี้
วัสดุ/อุปกรณ์
-หลอดกาแฟ
-ดินน้ำมัน
-ขวดน้ำพลาสติกที่มีฝาปิด
-กรรไกร
ขั้นตอนการทำ
-นำหลอดกาแฟมาตัดประมาณ 3-4 นิ้ว
-นำหลอดที่ตัดแล้วมาพับไม่ต้องแบ่งครึ่งแล้วติดเทปกาว
-นำกรรไกรมาตัดหลอดกาแฟที่ยาวกว่าเป็น 2 แฉก แฉกหนึ่งให้พับขึ้นไป อีกแฉกให้ใช้ดินน้ำมันถ่วงไว้
-นำขวดพลาสติกใส่น้ำให้เต็มแล้วนำนักดำน้ำที่ทำไว้มาใส่ลงไปในขวดแล้วปิดฝาให้แน่น
-บีบขวดน้ำ/ปล่อยขวดน้ำ แล้วสังเกตผลการทดลอง
ผลการทดลอง
-เมื่อเราใช้มือบีบขวดน้ำนักดำน้ำจะจมลงแต่เมื่อเราปล่อยมือนักดำน้ำก็จะลอยขึ้น
สาเหตุจากผลการทดลอง
-ในหลอดมีอาการอยู่ เมื่อเราปล่อยลงในขวดน้ำโดยใช้ดินน้ำมันถ่วงไว้ก็จะมีอากาศอยู่ แล้วเมื่อเราบีบขวดน้ำก็จะทำให้แรงดันที่เกิดขึ้นส่งผ่านไปทั่วแล้วจะไปดันอากาสที่อยู่ในหลอดให้มีปริมาณลดลง จะทำให้ความหนาแน่นของนักดำน้ำเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำ นักดำน้ำจึงจมลง เมื่อปล่อยมือนักดำน้ำก็จะขยายตัวกลับดังเดิม

ของเล่นวิทยาศาสตร์นักดำน้ำ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 6 (26/07/54)

*สรุปเนื้อหาดังนี้*
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้สบายๆไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป วันนี้อาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับข้อความรู้และการรณรงค์โครงการ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติด โดยได้สรุปไว้ข้างต้นแล้วและหลังจากนั้นอาจารย์ได้ยกตัวอย่างของส้มโอว่ามีลักษณะอย่างไร มีกลิ่นอย่างไร มีสีอย่างไร และมีรสชาติอย่างไร ฯลฯ โดยนักศึกษาให้ความร่วมมือในการตอบคำถามด้วย หลังจากนั้นอาจารย์ก็ดู blogger ของนักศึกษาและเปิด"โทรทัศน์ครูให้ดู"แล้วอาจารย์ให้ลิงค์ลงในbloggerของตนเองและวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จากpowerpointของอาจารย์โดยมีเนื้อหาดังนี้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผลแสวงหาความรู้ ความสามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
1.ความหมายทักษะการสังเกต
หมายถึง ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5หรืออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันเพื่อหาข้อมูลรายละเอียด
-สังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
-สังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ
-สังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
2.ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์
-ความเหมือน
-ความแตกต่าง
-ความสัมพันธ์รวม
3.ความหมายทักษะการวัด
หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดเพื่อหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยการวัดกำกับ
-รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
-การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
-วิธีการที่เราจะวัด
4.ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
หมายถึง การพูด การเขียนรูปภาพ และท่าทางการแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง
-บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
-บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
-บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
-จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5.ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
-ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
-ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์
-การสังเกตรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง
6.ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
หมายถึง การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติ แทน 3 มิติ การบอกทิศทาง การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงาการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
-ชี้บงภาพ 2 มิติ กับ 3 มิติ
-บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางกับวัตถุ
-บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
-บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา
7.ทักษะการคำนวณ
หมายถึง ความสามารถในการนำจำนวนของวัตถุมาบวก ลบ คูณ หาร
-การนับจำนวนของวัตถุ
-การบวก ลบ คูณ หาร
-การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดหรือบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ
หลังจากนั้นอาจารย์ถามว่า"ทำไมถึงต้องสอนวิทยาศาตร์"ดิฉันจึงสรุปไว้ข้างต้น
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
-มาตรฐานด้านผู้เรียน
-มาตรฐาน5มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์
*งานที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้
จากการรณรงค์โครงการ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติด อาจารย์ให้หาตามหัวข้อดังต่อไปนี้
-หลักการและเหตุผล
-มีกิจกรรมอะไรบ้าง
-ขั้นตอนการดำเนินการ
-สื่อ
-วัน เวลา สถานที่
-ผลที่ได้รับ
ประดิษฐ์ของเล่นที่เกี่ยวกับวิยาศาสตร์มา 1 ชิ้น

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 5 (19/07/54)

*สรุปผลการทดลองวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม*
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้หนาวมากๆเพราะเปิดแอร์ 16องศา วันนี้อาจารย์และนักศึกษาได้มีการสนทนากันในเรื่องของกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เรียนมาและอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มสรุปกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ได้มีการทดลองกันในสัปดาห์ที่แล้วลงในกระดาษเป็น Mind Map โดยมีหัวข้อดังนี้
1.วัสดุ/อุปกรณ์
2.วิธีการทดลอง
3.สรุปผลการทดลอง
4.ผลที่ได้รับ
จากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดถึงโครงการ ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติดเพื่อถวายแด่พ่อหลวง 84 พรรษา และอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มหาหลักการและเหตุผลเกี่ยวกับโครงการลงในกระดาษ

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 4 (12/07/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้บรรยากาศในห้องเรียนอบอุ่นมากแต่ท้องฟ้ามืดดูเหมือนฝนกำลังจะตก วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่ให้คิดไว้จากสัปดาห์ที่แล้วและกลุ่มของดิฉันได้เกี่ยวกับแนวคิดของนักการศึกษา กลุ่มของดิฉันได้นำเสนอในรูปแบบของรายการโทรทัศน์และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำในการนำเสนองานเพื่อนำไปปรับปรุงในครั้งต่อๆไป และวันนี้อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษนำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มาทดลองในห้องเรียนกลุ่มของดิฉันได้ทดลองกิจกรรมลูกเกดเต้นระบำ ดังนี้
1.นำน้ำโซดาเทใส่แก้ว 1 ใบและน้ำเปล่าเทใส่แก้ว 1 ใบ
2.นำลูกเกดใส่แก้วทั้ง 2 ใบแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของลูกเกดในแก้วทั้ง 2 ใบ
ผลการทดลอง
ลูกเกดที่อยู่ในน้ำโซดาจะมีการลอยตัวขึ้น-ลง แต่ลูกเกดที่อยู่ในน้ำเปล่าจะนิ่งและจมอยู่ก้นแก้ว
สาเหตุที่ลูกเกดลอยตัวขึ้น-ลง
เนื่องจากแรงดันของก๊าซที่อยู่ภายในน้ำโซดาทำให้ลูกเกดเกิดการเคลื่อนไหวและลอยตัวขึ้น-ลง

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 3 (05/07/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้สดชื่น ท้องฟ้าแจ่มใส ในวันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานกลุ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว แต่ละกลุ่มได้ทำการนำเสนอมาแบบPower Point แต่อาจารย์ต้องการให้มีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ อาจารย์จึงให้เวลา 20 นาที ให้แต่ละกลุ่มคิดการนำเสนอ แต่ไม่มีกลุ่มไหนออกมานำเสนอเลยอาจารย์จึงให้เวลาเป็นสัปดาห์หน้าในการนำเสนอ แต่ต้องเป็นการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ
*งานที่ได้รับมอบหมาย
-แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน หากิจกรรมวิทยาศาสตร์มาจัดในห้องเรียนในสัปดาห์หน้า

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 2 (28/06/54)

-อาจารย์ได้อธิบายควาสำคัญของวิทยาศาสตร์ดังนี้

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ แจ๋มใสมากไม่หนาวและไม่ร้อนจนเกินไป วันนี้อาจารย์เปิด เพลงไอน้ำ ให้ฟังแล้วให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นดังนี้
ความรู้ที่ได้จากการฟังเพลง
-เมื่อพระอาทิตย์ส่องแสงลงแม่น้ำแล้วทำให้แม่น้ำร้อนจนระเหยเป็นไอน้ำ
เพลงนี้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
-เพลงนี้มีเนื้อย่างไร หาวัฎจักรของแม่น้ำที่ระเหยเป็นไอ
นำไปจัดการเรียนการสอนอย่างไร
-นำเพลงเข้าไปเป็นสื่อในการเรียนการสอน
-นำเพลงเข้าไปเป็นขั้นนำในการสอนหน่วย
*งานที่ได้รับมอบหมาย
งานเดี่ยว
หาความหมายของวิทยาศาสตร์
-พัชราภรณ์ พสุวัต (2522:3) อธิบายว่า วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีเนื้อหาสาระซึ่งเป็นเรื่องราวของสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ได้รวบรวมความจริงเหล่านั้นเพื่อนำมาเป็นความรู้และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น
พัชราภรณ์ พสุวัต.พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ในชั้นมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2522
หาความสำคัญของวิทยาศาสตร์
-วิทยาศาสตร์มีความสำคัญสำหรับทุกคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ชายและผู้หญิง ชาวกรุงหรือชาวชนบท ทหารและพลเรือน วิทยาศาสตร์นี้เองทำให้โลกเราเป็นอย่างปัจจุบันนี้ วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของคนเรา การใช้วิทยาศาสตร์อย่างชาญฉลาดจะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น แต่การใช้วิทยาศาสตร์อย่างผิดๆก็มีผลในการทำลาย
s.v.Bosak ค.ศ. 1991 หน้า 1-5 โดย จริยา สุจารีกุล
งานกลุ่ม

-หาแนวคิดของนักการศึกษา

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 1 (21/06/54)

*อาจารย์ได้อธิบายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้
สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้แจ่มใสในห้องเรียนรู้สึกหนาวนิดๆ วันนี้เป็นการเรียนการสอนวิชานี้ครั้งแรกอาจารย์ไดอธิบายเกี่ยวกับชื่อวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อธิบายการทำ blogger อธิบายแนวการเรียนการสอนของเทอมนี้และอาจารย์กับนักศึกษาก็ตกลงกันในการตรวจงานผ่านทาง blogger คือ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 น. และอาจารย์ก็ให้ทำblogมาด้วยในสัปดาห์หน้าเพื่อมาลิงค์กับอาจารย์